เราต่างทราบกันดีว่า ดาวฤกษ์กับดาวเคราะห์มีความแตกต่างกันตรงที่ ดาวฤกษ์นั้นจะมีแสงสว่างในตัวเอง ส่วนดาวเคราะห์จะไม่มี แต่สามารถสะท้อนแสงจากแหล่งกำเนิดจนดูเหมือนว่ามันสามารถส่องแสงเองได้อย่างเช่นที่เราสามารถมองเห็น “ดาวศุกร์” จากบนโลกได้ ซึ่งมันเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดบนท้องฟ้ายามค่ำคืนบนโลกของเรา นอกจากดวงจันทร์ นั่นเพราะมันสามารถ “สะท้อนแสง” จากดวงอาทิตย์มายังโลกได้
ล่าสุด ที่นอกระบบสุริยะจักรวาล ห่างออกไปจากโลกมากกว่า 260 ปีแสง มีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งชื่อว่า “LTT9779b” อยู่ มันถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2020 มีขนาดพอ ๆ กับดาวเนปจูน โคจรรอบดาวฤกษ์ใช้เวลาเพียง 19 ชั่วโมง
สิ่งที่ทำให้นักดาราศาสตร์ตื่นเต้นคือ ดาวเคราะห์ดวงนี้สะท้อนแสงจากดาวฤกษ์ใจกลางได้ถึง 80% ถือเป็นดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะดวงแรก ที่สว่างเทียบเท่ากับดาวศุกร์
ด้วยตำแหน่งของ LTT9779b ที่อยู่ใกล้ดาวฤกษ์มาก ด้านที่หันหาดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์ดวงนี้จึงมีอุณหภูมิสูงถึง 2,000 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนเกินกว่าที่จะเกิดเมฆได้
แต่นักดาราศาสตร์พบว่า ดาวเคราะห์นี้มีเมฆอยู่ โดยเป็นเมฆโลหะที่เกิดโลหะและแร่ซิลิเกต (แร่ที่ใช้ในการผลิตแก้ว) ที่มีอยู่เต็มชั้นบรรยากาศ ซึ่งเมฆโลหะนี้ทำหน้าที่เหมือนกระจกที่สะท้อนแสงออกไป และป้องกันไม่ให้ชั้นบรรยากาศถูกเป่ากระจาย
นักดาราศาสตร์ระบุด้วยว่า การค้นพบนี้เป็นอีกก้าวที่สำคัญ เพราะ LTT9779b อยู่ในบริเวณที่เรียกว่า เนปจูน เดสเสิร์ต (Neptune Desert) ซึ่งเป็นบริเวณใกล้กับดาวฤกษ์มาก และจะได้รับกระทบจากการแผ่รังสีของดาวฤกษ์อย่างรุนแรง ทำให้ดาวเคราะห์ที่อยู่บริเวณนั้นไม่สามารถคงสภาพชั้นบรรยากาศของตัวเองไว้ได้ และอาจจะทำให้ตัวมันเองแตกสลายหรือกลายเป็นดาวเคราะห์ที่ตายไปแล้ว
โดยนักดาราศาสตร์เคยเชื่อว่า ในโซนนี้ จะไม่สามารถพบดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เท่ากับดาวเนปจูน
การค้นพบใหม่นี้มาจากการสังเกตด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศคีออปส์ (Cheops) ขององค์การอวกาศยุโรป (ESA) ซึ่งถูกส่งขึ้นสู่วงโคจรรอบโลกเมื่อปี 2019 เพื่อศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่ถูกค้นพบแล้วคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ภาพจากUniversidad de Chile
นักดาราศาสตร์พบหนึ่งในข้อพิสูจน์ จักรวาลสามารถ “ขยายขนาดเวลา” ได้
สวยไปอีกแบบ นาซาเผยภาพ “ดาวเสาร์” จากกล้อง เจมส์ เว็บบ์
นักวิทย์ “ได้ยิน” คลื่นความโน้มถ่วงในอวกาศเป็นครั้งแรก!